เด็กพิเศษคือใคร.....
วันนี้มาทำความรู้จักเด็กพิเศษกันค่ะ ครูโอมเชื่อว่าหลายๆคนคงจะพอเคยได้ยินและเคยเห็นกันมาบ้างแล้ว บางคนอาจให้นิยามว่าเด็กพิเศษคือเด็กเอ๋อ เด็กโง่ เด็กที่ไม่สามารถพัฒนาได้ แต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจความหมายจริงๆ ของคำว่าเด็กพิเศษ เด็กพิเศษหรือถ้าจะให้เรียกเต็มๆ เราก็จะเรียกว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กกลุ่มนี้สามารถพัฒนาได้ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยจะต้องใช้การดูแลและส่งเสริมด้านต่างๆเป็นพิเศษ พิเศษในที่นี้ครูโอมหมายถึง ดูแลด้วยวิธีการที่อาจจะมากกว่าเด็กทั่วไป จัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับแต่ละคน ใช้เทคนิกการสอนที่แตกต่างจากเด็กปกติทั่วไป เราเลยเรียนว่าเด็กพิเศษ จะรวมถึงเด็กทั้งหมด 3 กลุ่มด้วยกันคือ
- เด็กที่มีความสามารถพิเศษ (เด็กอัจฉริยะ)
- เด็กที่มีความบกพร่อง (มีทั้งหมด 9 ประเภท)
- เด็กยากจนหรือเด็กด้อยโอกาส
หลักจากที่เรารู้กันมาแล้วว่าเด็กพิเศษมีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่มใหญ่ๆ เราลองมาลงรายละเอียดของแต่ละกลุ่มกันค่ะ
-
เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
เด็กที่มีความสามารถด้านต่างๆสูงกว่าเด็กทั่วไป เช่น เด็กปัญญาเลิศจะมีสติปัญญาสูง ฉลาด หรือมีความสามารถทางด้านกีฬาเป็นเลิศ ซึ่งเราจะเห็นจุดเด่นเหล่านี้ได้ชันเจน เด็กกลุ่มนี้ต้องการ การส่งเสริมที่ต่างจากเด็กปกติ เพราะเวลาที่อยู่ในชั้นเรียนปกติเด็กจะทำงานได้ดีและเร็วมาก และจะเป็นเด็กที่ต้องการความท้าทายในการเรียน หากครูไม่ปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กเด็กอาจจะเกิดปัญหาในห้องเรียนได้ และแทนที่จะช่วยส่งเสริมความสามารถพิเศษของเขาอาจเป็นการทำลายความสามารถของเขาก้ได้ -
เด็กที่มีความบกพร่อง
เด็กกลุ่มนี้จะเป็นเด็กที่มีปัญหาด้านต่างๆ อาจส่งผลให้เด็กเรียนรู้ช้า หรือพัฒนาการบ้างด้านอาจจะได้ไม่เท่าเด็กปกติทั่วไปในช่วงวัยเดียวกัน ดังนั้นเด็กกลุ่มนี้จึงต้องการการช่วยเหลือและวิธีการที่แตกต่างจากเด็กทั่วไป สามารถแบ่งออกเป็น 9 ประเภท-
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Children with Mental Retardation) เด็กที่มีความบกพร่องในการทำงานของกระบวนการทางปัญญาและมีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมการปรับตัวตั้งแต่ 2 ประการขึ้นไป มีระดับไอคิวต่ำกว่า 70 และอาการจะต้องปรากฎก่อนอายุ 18 ปี เช่นกลุ่มอาการดังต่อไปนี้
- กลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome)
- กลุ่มอาการเวโลคาร์ดิโอเฟเชียล (Velocardiofacial syndrome)
- กลุ่มอาการของทารกที่ถือกำเนิดจากมารดาที่ดื่มแอลกอฮอล์ (Fetal alcohol syndrome)
- โรคท้าวแสนปม (Neurofibromatosis)
- ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด (Congenital hypothyroidism)
- กลุ่มอาการวิลเลี่ยม (Williams syndrome)
- ฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) หรือ PKU
- กลุ่มอาการเพรเดอร์-วิลลี (Prader-Willi syndrome)
-
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน(Children with Hearing Impaired )
เด็กบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยิน เป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่าง ๆได้ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ- เด็กหูตึง
- เด็กหูหนวก
-
เด็กบกพร่องทางการเห็น(Children with Visual Impairments Children)
เด็กบกพร่องทางการเห็น หมายถึง เด็กที่มองไม่เห็น หรือพอเห็นแสง เห็นเลือนลาง และมีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง- เด็กตาบอด
- เด็กสายตาเลือนลาง
-
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ(Children with Physical and HealthImpairments)
เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ หมายถึง เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วนอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนหายไปกระดูกกล้ามเนื้อพิการ เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรงหรือเฉียบพลัน มีความพิการทางระบบประสาทสมอง มีความลำบากในการเคลื่อนไหวจนเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียน และการท ากิจกรรมของเด็ก -
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา(Children with Speech and LanguageDisorders)
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา หมายถึง เด็กที่พูดไม่ชัด และลีลาจังหวะการพูดผิดปกติ ออกเสียงผิดเพี้ยนอวัยวะที่ใช้ในการพูดไม่สามารถเป็นไปตามลำดับขั้น การใช้อวัยวะเพื่อการพูดไม่เป็นไปดังตั้งใจ คำพูดที่ยากหรือซับซ้อนหรือยาวจะยิ่งมีปัญหามากหรือมีอาการพูดและใช้ภาษาที่ผิดปกติ โดยการพูดนั้นเห็นได้ชัดว่าผิดแปลกไปจากการพูดของคนทั่วไป ทำให้ฟังไม่รู้รื่อง สื่อความหมายต่อกันไม่ได้ -
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์(Children with Behaviorally andEmotional Disorders)
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ หมายถึง เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกติ เช่นคนปกตินาน ๆ ไม่ได้ หรือเด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้ ซึ่งพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นไม่เป็นที่ยอมรับและพอใจของของสังคม ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย สอดคล้องกับสภาพการณ์ -
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities)
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หมายถึง เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่างโดยมีความบกพร่องหรือปัญหาหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่ง ทำให้เด็กเหล่านี้มีปัญหาทางการใช้ภาษาหรือการพูดการเขียน ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียนซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการขาดแรงเสริมด้อยโอกาสทางสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมหรือเป็นเพราะครูสอนไม่มีประสิทธิภาพและไม่นับรวมถึงเด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการหรือความบกพร่องทางร่างกาย -
เด็กออทิสติก (Autistic)
เด็กออทิสติก หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมายพฤติกรรมสังคมและความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้อาการต่างๆจะมีการเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนเป็นระยะๆไปเด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเองและย่อมแตกต่างไปจากเด็กคนอื่นๆซึ่งเป็นเด็กออทิสติกเหมือนกันทั้งนี้เป็นเพราะอาการที่เป็นมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไปประกอบกับเด็กแต่ละคนมีบุคลิกภาพของตัวเองอยู่ด้วยอาการออทิสติกนั้นจะคงอยู่ติดตัวเด็กไปจนเป็นผู้ใหญ่จนตลอดทั้งชีวิตไม่สามารถรักษาให้หายได้หากพิจารณาเปรียบเทียบด้านพัฒนาการของทักษะด้านต่างๆของเด็กออทิสติกใน4ด้านคือด้านทักษะการเคลื่อนไหวด้านทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรงขนาดและพื้นที่ด้านทักษะภาษาและการสื่อความหมายและด้านทักษะทางสังคมจะพบว่าเด็กออทิสติกจะมีพัฒนาการด้านภาษาและพัฒนาการด้านสังคมต่ ามากแต่จะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวด้านการรับรู้รูปทรงขนาดและพื้นที่โดยเฉลี่ยสูงถ้าความแตกต่างระหว่างทักษะด้านภาษาและสังคมยิ่งต่ ากว่าทักษะด้านการเคลื่อนไหวและการรับรู้รูปทรงมากเท่าใดความเป็นไปได้ของออทิสติกก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้นพัฒนาการที่ผิดปกตินี้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงตลอดชีวิตซึ่งปกติปรากฎในระ3ปีแรกของชีวิต -
เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)
เด็กพิการซ้อน หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก เช่น ปัญญาอ่อน–ตาบอด ปัญญาอ่อน-ร่างกายพิการ หูหนวก-ตาบอด ฯลฯ
-
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Children with Mental Retardation) เด็กที่มีความบกพร่องในการทำงานของกระบวนการทางปัญญาและมีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมการปรับตัวตั้งแต่ 2 ประการขึ้นไป มีระดับไอคิวต่ำกว่า 70 และอาการจะต้องปรากฎก่อนอายุ 18 ปี เช่นกลุ่มอาการดังต่อไปนี้
-
เด็กยากจนหรือเด็กด้อยโอกาส
เด็กที่อยู่ในสภาวะยากลำบาก เนื่องจากประสบปัญหาต่าง ๆ มีชีวิตความเป็นอยู่ด้อยกว่าเด็กปกติทั่วไป ขาดโอกาสหรือไม่มีโอกาสที่จะเข้ารับบริการทางการศึกษาหรือได้รับพัฒนาทั้ง ทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และจิตใจ จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษเพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ ดีขึ้น
หลักจากอ่านข้อมูลที่ครูโอมเขียนหวังว่าทุกคนที่เข้ามาอ่านคงเข้าใจและรู้จักเด็กพิเศษมากขึ้นนะค่ะ ครูโอมอยากบอกว่าบ้างครั้ง เด็กพิเศษไม่ได้ต้องการความสงสาร แต่พวกเขาต้องการโอกาสและพื้นที่ให้เขาได้แสดงความสามารถที่เขามีในตัว และเข้าใจในตัวในตัวเด็กพิเศษ
umpapon Nov 23, 2015 Article