เด็กพิเศษคือใคร.....

วันนี้มาทำความรู้จักเด็กพิเศษกันค่ะ ครูโอมเชื่อว่าหลายๆคนคงจะพอเคยได้ยินและเคยเห็นกันมาบ้างแล้ว บางคนอาจให้นิยามว่าเด็กพิเศษคือเด็กเอ๋อ เด็กโง่ เด็กที่ไม่สามารถพัฒนาได้  แต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจความหมายจริงๆ ของคำว่าเด็กพิเศษ  เด็กพิเศษหรือถ้าจะให้เรียกเต็มๆ เราก็จะเรียกว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กกลุ่มนี้สามารถพัฒนาได้ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยจะต้องใช้การดูแลและส่งเสริมด้านต่างๆเป็นพิเศษ พิเศษในที่นี้ครูโอมหมายถึง ดูแลด้วยวิธีการที่อาจจะมากกว่าเด็กทั่วไป จัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับแต่ละคน ใช้เทคนิกการสอนที่แตกต่างจากเด็กปกติทั่วไป  เราเลยเรียนว่าเด็กพิเศษ จะรวมถึงเด็กทั้งหมด 3 กลุ่มด้วยกันคือ

  • เด็กที่มีความสามารถพิเศษ (เด็กอัจฉริยะ)
  • เด็กที่มีความบกพร่อง (มีทั้งหมด 9 ประเภท)
  • เด็กยากจนหรือเด็กด้อยโอกาส

หลักจากที่เรารู้กันมาแล้วว่าเด็กพิเศษมีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่มใหญ่ๆ เราลองมาลงรายละเอียดของแต่ละกลุ่มกันค่ะ

  1. เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
    เด็กที่มีความสามารถด้านต่างๆสูงกว่าเด็กทั่วไป เช่น เด็กปัญญาเลิศจะมีสติปัญญาสูง ฉลาด หรือมีความสามารถทางด้านกีฬาเป็นเลิศ ซึ่งเราจะเห็นจุดเด่นเหล่านี้ได้ชันเจน เด็กกลุ่มนี้ต้องการ การส่งเสริมที่ต่างจากเด็กปกติ  เพราะเวลาที่อยู่ในชั้นเรียนปกติเด็กจะทำงานได้ดีและเร็วมาก และจะเป็นเด็กที่ต้องการความท้าทายในการเรียน หากครูไม่ปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กเด็กอาจจะเกิดปัญหาในห้องเรียนได้ และแทนที่จะช่วยส่งเสริมความสามารถพิเศษของเขาอาจเป็นการทำลายความสามารถของเขาก้ได้
  2. เด็กที่มีความบกพร่อง
    เด็กกลุ่มนี้จะเป็นเด็กที่มีปัญหาด้านต่างๆ อาจส่งผลให้เด็กเรียนรู้ช้า หรือพัฒนาการบ้างด้านอาจจะได้ไม่เท่าเด็กปกติทั่วไปในช่วงวัยเดียวกัน ดังนั้นเด็กกลุ่มนี้จึงต้องการการช่วยเหลือและวิธีการที่แตกต่างจากเด็กทั่วไป สามารถแบ่งออกเป็น 9 ประเภท
    1.  เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Children with Mental Retardation) เด็กที่มีความบกพร่องในการทำงานของกระบวนการทางปัญญาและมีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมการปรับตัวตั้งแต่ 2 ประการขึ้นไป มีระดับไอคิวต่ำกว่า 70 และอาการจะต้องปรากฎก่อนอายุ 18 ปี เช่นกลุ่มอาการดังต่อไปนี้
      1. กลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome)   
      2. กลุ่มอาการเวโลคาร์ดิโอเฟเชียล (Velocardiofacial syndrome)
      3. กลุ่มอาการของทารกที่ถือกำเนิดจากมารดาที่ดื่มแอลกอฮอล์ (Fetal alcohol syndrome)
      4. โรคท้าวแสนปม (Neurofibromatosis)
      5. ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด (Congenital hypothyroidism)
      6. กลุ่มอาการวิลเลี่ยม (Williams syndrome)
      7. ฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) หรือ PKU
      8. กลุ่มอาการเพรเดอร์-วิลลี (Prader-Willi syndrome)
    2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน(Children with Hearing Impaired )
      เด็กบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยิน เป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่าง ๆได้ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ
      1. เด็กหูตึง
      2. เด็กหูหนวก
    3. เด็กบกพร่องทางการเห็น(Children with Visual Impairments Children)
      เด็กบกพร่องทางการเห็น หมายถึง เด็กที่มองไม่เห็น หรือพอเห็นแสง เห็นเลือนลาง และมีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
      1. เด็กตาบอด
      2. เด็กสายตาเลือนลาง
    4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ(Children with Physical and HealthImpairments)
      เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ หมายถึง เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วนอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนหายไปกระดูกกล้ามเนื้อพิการ เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรงหรือเฉียบพลัน มีความพิการทางระบบประสาทสมอง มีความลำบากในการเคลื่อนไหวจนเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียน และการท ากิจกรรมของเด็ก
    5. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา(Children with Speech and LanguageDisorders)
      เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา หมายถึง เด็กที่พูดไม่ชัด และลีลาจังหวะการพูดผิดปกติ ออกเสียงผิดเพี้ยนอวัยวะที่ใช้ในการพูดไม่สามารถเป็นไปตามลำดับขั้น การใช้อวัยวะเพื่อการพูดไม่เป็นไปดังตั้งใจ คำพูดที่ยากหรือซับซ้อนหรือยาวจะยิ่งมีปัญหามากหรือมีอาการพูดและใช้ภาษาที่ผิดปกติ โดยการพูดนั้นเห็นได้ชัดว่าผิดแปลกไปจากการพูดของคนทั่วไป ทำให้ฟังไม่รู้รื่อง สื่อความหมายต่อกันไม่ได้
    6. เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์(Children with Behaviorally andEmotional Disorders)
      เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ หมายถึง เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกติ เช่นคนปกตินาน ๆ ไม่ได้ หรือเด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้ ซึ่งพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นไม่เป็นที่ยอมรับและพอใจของของสังคม ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย สอดคล้องกับสภาพการณ์
    7. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities)
      เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หมายถึง เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่างโดยมีความบกพร่องหรือปัญหาหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่ง ทำให้เด็กเหล่านี้มีปัญหาทางการใช้ภาษาหรือการพูดการเขียน ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียนซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการขาดแรงเสริมด้อยโอกาสทางสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมหรือเป็นเพราะครูสอนไม่มีประสิทธิภาพและไม่นับรวมถึงเด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการหรือความบกพร่องทางร่างกาย
    8. เด็กออทิสติก (Autistic)
      เด็กออทิสติก หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมายพฤติกรรมสังคมและความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้อาการต่างๆจะมีการเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนเป็นระยะๆไปเด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเองและย่อมแตกต่างไปจากเด็กคนอื่นๆซึ่งเป็นเด็กออทิสติกเหมือนกันทั้งนี้เป็นเพราะอาการที่เป็นมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไปประกอบกับเด็กแต่ละคนมีบุคลิกภาพของตัวเองอยู่ด้วยอาการออทิสติกนั้นจะคงอยู่ติดตัวเด็กไปจนเป็นผู้ใหญ่จนตลอดทั้งชีวิตไม่สามารถรักษาให้หายได้หากพิจารณาเปรียบเทียบด้านพัฒนาการของทักษะด้านต่างๆของเด็กออทิสติกใน4ด้านคือด้านทักษะการเคลื่อนไหวด้านทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรงขนาดและพื้นที่ด้านทักษะภาษาและการสื่อความหมายและด้านทักษะทางสังคมจะพบว่าเด็กออทิสติกจะมีพัฒนาการด้านภาษาและพัฒนาการด้านสังคมต่ ามากแต่จะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวด้านการรับรู้รูปทรงขนาดและพื้นที่โดยเฉลี่ยสูงถ้าความแตกต่างระหว่างทักษะด้านภาษาและสังคมยิ่งต่ ากว่าทักษะด้านการเคลื่อนไหวและการรับรู้รูปทรงมากเท่าใดความเป็นไปได้ของออทิสติกก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้นพัฒนาการที่ผิดปกตินี้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงตลอดชีวิตซึ่งปกติปรากฎในระ3ปีแรกของชีวิต
    9. เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)
      เด็กพิการซ้อน หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก เช่น ปัญญาอ่อน–ตาบอด ปัญญาอ่อน-ร่างกายพิการ      หูหนวก-ตาบอด ฯลฯ
  3. เด็กยากจนหรือเด็กด้อยโอกาส
    เด็กที่อยู่ในสภาวะยากลำบาก เนื่องจากประสบปัญหาต่าง ๆ มีชีวิตความเป็นอยู่ด้อยกว่าเด็กปกติทั่วไป ขาดโอกาสหรือไม่มีโอกาสที่จะเข้ารับบริการทางการศึกษาหรือได้รับพัฒนาทั้ง ทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และจิตใจ จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษเพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ ดีขึ้น

หลักจากอ่านข้อมูลที่ครูโอมเขียนหวังว่าทุกคนที่เข้ามาอ่านคงเข้าใจและรู้จักเด็กพิเศษมากขึ้นนะค่ะ  ครูโอมอยากบอกว่าบ้างครั้ง เด็กพิเศษไม่ได้ต้องการความสงสาร  แต่พวกเขาต้องการโอกาสและพื้นที่ให้เขาได้แสดงความสามารถที่เขามีในตัว และเข้าใจในตัวในตัวเด็กพิเศษ 

 

umpapon Nov 23, 2015 Article